งานหมั้น พิธีหมั้น พ่อสื่อ แม่สื่อ
หลังจากที่ฝ่ายชาย ส่งเฒ่าแก่หรือพ่อสื่อแม่สื่อ ไปเจรจาสู่ขอกันเป็นที่ตกลงแล้ว บางครั้ง ทางผู้ใหญ่ ต้องการให้ มีการหมั้นกันไว้สัก ระยะหนึ่งก่อน แล้วจึงทำการแต่งในภายหลัง เพื่อให้หนุ่มสาวได้มีโอกาสดูใจ หรือศึกษา อุปนิสัยใจคอ กันได้มากขึ้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ต้องมีการกำหนดฤกษ์ยามในวันหมั้น รวมทั้งกำหนดสินสอดทองหมั้น ที่เรียกว่า ขันหมากหมั้น
การจัดขันหมากหมั้น
เมื่อถึงกำหนดฤกษ์ยามตามที่ได้ตกลงกันไว้ ฝ่ายชายจะจัดเตรียมขันหมากหมั้น เพื่อยกไปทำการหมั้นฝ่ายหญิง โดยมอบหมายให้ เฒ่าแก่ฝ่ายชาย เป็นผู้นำไปมอบให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิง
เกี่ยวกับตัวเฒ่าแก่ฝ่ายชายนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นคนเดียวกับที่ไปทำการเจรจาสู่ขอ หรือจะให้ผู้อื่นทำหน้าที่แทน ก็ได้ เพราะไม่ค่อยถือเหมือนเฒ่าแก่ขันหมากตอนแต่ง ซึ่งควรจะเป็นเฒ่าแก่คนเดียวกับที่ไปเจรจาสู่ขอ
เฒ่าแก่ขันหมากหมั้น นิยมให้สามีภรรยาที่อยู่กินกันมาด้วยความผาสุก โดยไปด้วยกันทั้งคู่ เป็นการ ถือเคล็ดชีวิตคู่ ในบางแห่งอาจเป็นฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง เป็นผู้ทำหน้าที่เฒ่าแก่ขันหมากหมั้น เพียงคนเดียวก็ได้
เกี่ยวกับการจัดขันหมากหมั้น นอกจากเงินทองค่าสินสอดตามที่ตกลงกันทางฝ่ายหญิงไว้แล้ว สิ่งที่ ต้องจัดเตรียมไป ในขันหมากนั้น ในแต่ละท้องถิ่นอาจแตกต่างกันไป เช่น ใช้หมากดิบทั้งลูก ๘ ผล พลู ๘ เรียง บรรจุลงในขันใบหนึ่ง สำหรับอีกขันหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าใช้บรรจุเงินทองหรือของหมั้น เช่น สร้อย แหวน กำไล ฯลฯ บางทีแยกขันหมากเป็น ๒ คู่ คือใส่หมากพลู ๑ คู่ และใส่ของหมั้น ๑ คู่ บางทีก็ไม่แยก แต่เพิ่มขันใส่ใบเงินใบทอง ถึงข้าวเปลือกถั่วงาอีกขันหนึ่ง ไม่จัดปนอยู่ในขันหมากพลูและขันเงินขันทอง
นอกจากขันหมากพลูแล้ว ยังต้องจัดเตรียมเครื่องขันหมาก อันประกอบด้วยขนมและผลไม้ มากน้อย แล้วแต่ตกลงกันไว้ บางทีอาจเพิ่มสุราหรือเครื่องเซ่นสำหรับไหว้ผีบรรพบุรุษก่อนทำพิธีหมั้นด้วย
ขันหมากพลูนั้น มีการจัดที่แตกต่างกันไป เช่น อาจมีหมากทั้งลูก ๘ ผล พลู ๘ เรียง หรือ หมากทั้งลูก ๔ ผล พลู ๔ เรียง บางทีก็กำหนดหมากทั้งลูก ๑๖ ผล พลู ๓ เรียง การเรียงพลูนั้น ในแต่ละเรียงยังกำหนดต่างกันไป แล้วแต่ความนิยม เช่น เรียงละ ๕ ใบ หรือ ๘ ใบ ส่วนหมากนั้น นอกจากจะต้องเป็นหมากทั้งลูก ไม่นิยมการผ่า หรือแบ่งเป็น ๒ ซีกแล้ว ยังควรให้อยู่ในตะแง้เดียวกันทั้ง ๘ ผล หรือ ๑๖ ผลอีกด้วย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ถือเคล็ดการนับเป็นคู่ และการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

พิธีมงคลสมรส( งานแต่งงาน ) และบทความเกี่ยวเนื่อง
- การสู่ขอ เฒ่าแก่
- พิธีการสู่ขอ
- พิธีการสู่ขอในวรรณคดีไทย
- ผูกดวง ดวงสมพงศ์กัน และทางออก ในงานแต่งงาน การสู่ขอในวรรณคดีไทย ( ต่อ )
- การแจ้งข่าวผลการสู่ขอ
- การปลูกเรือนหอ
- พิธีหมั้น
- การยกขันหมากหมั้น
- การนับสินสอดของหมั้น พิธีสวมแหวนหมั้น
- ฤกษ์ยามเกี่ยวกับการแต่งงาน
- ฤกษ์วันแต่ง
- พิธียกขันหมาก
- การจัดขันหมากเอกและขันหมากโท
- การขุดต้นกล้วย ต้นอ้อย สำหรับให้คู่บ่าวสาว ใช้ปลูกร่วมกัน
- ขนมในขบวนขันหมาก
- พิธียกขันหมาก คติความเชื่อเกี่ยวกับขนม ผลไม้ และกับข้าวในงานแต่งงาน
- การเคลื่อนขบวนขันหมาก
- การจัดขบวนขันหมาก
- ของที่อยู่ในขันหมากโท
- เริ่มเคลื่อนขบวนขันหมาก
- พานรับขันหมาก
- การปิดประตูขันหมาก
- ถอดรองเท้าเรียกค่าไถ่
- การตรวจนับขันหมาก
- การไหว้ผี
- พิธีรับไหว้
- พิธีร่วมทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว
- พิธีรดน้ำสังข์ พิธีเจิม
- ความเป็นมาของหอยสังข์ที่นำมาใช้นำพิธีการแต่งงาน
- ขั้นตอนในการทำพิธีรดน้ำี์สังข์
- การกินเลี้ยงฉลองพิธีมงคลสมรส
- พิธีปูที่นอนและส่งตัวเจ้าสาว
- การส่งตัวเจ้าสาว
- การนอนเฝ้าหอในงานแต่งงาน
- หน้าที่ของสามีที่มีต่อภรรยา หน้าที่ของภรรยาต่อสามี หลังแต่งงาน
- หลักการครองเรือน
- สรุปขั้นตอนที่สำคัญ
- งานแต่งงาน คนไทย คนดัง ในปัจจุบัน
แหล่งอ้างอิง: จากหนังสือ : ประเพณี พิธีมงคล วันสำคํญของไทย ของ คุณกิติ ธนิกุล