พิธีร่วมทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว
ธรรมเนียมไทยนั้น เมื่อทำพิธีหรืองานมงคลใด ๆ ก็ตาม ย่อมต้องมีการทำบุญสร้างกุศล มาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ เพื่อความเป็นสิริมงคล
สำหรับพิธีร่วมกันทำบุญตักบาตร ของคู่บ่าวสาวนั้น นิยมกระทำกัน หลังจากทำพิธีรับไหว้ เสร็จเรียบร้อยแล้ว คือเจ้าภาพจะนิมนต์พระ มาสวดเจริญพุทธมนต์ และรับอาหารบิณฑบาตร
การตักบาตรนี้ แต่เดิมให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวตักกัน คนละทัพพี ใส่ในบาตรพระทุกองค์ ที่นิมนต์สวดเจริญ พระพุทธมนต์ ต่อมากลายเป็น คู่บ่าวสาวร่วมจับทัพพีเดียวกัน ตักบาตรพร้อมกัน ซึ่งเรื่องนี้เป็นความเชื่อ ว่าหากชายหญิงได้มีโอกาส ทำบุญร่วมชาติ ตักบาตรร่วมกัน ต่อไปจะได้เกิดมา เป็นคู่กันทุกชาติ
มีคติความเชื่ออันหนึ่ง เกี่ยวกับการตักบาตรของคู่บ่าวสาว ว่าถ้าผู้ใดจับที่ยอด หรือคอทัพพี ผู้นั้นจะเป็นใหญ่ เหนือกว่าคู่ของตน ซึ่งต้องเลื่อนมือมาจับ ตรงปลายทัพพี ผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย จะแอบกระซิบบอก คนของตน ให้รีบจับที่คอทัพพี ถ้าต่างแย่งกันจับ ก็คงไม่น่าดูนัก อาจแก้เคล็ด ด้วยการผลัดกัน ที่คอทัพพีคงจะได้ เพราะ ต้องตักบาตรพระถึง ๙ องค์
เกี่ยวกับการนิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์ ในงานมงคลสมรสนั้น แต่ก่อนนิยมนิมนต์เป็นคู่ เช่น ๔ องค์ ปัจจุบันนิยม ๙ องค์ เพราะคนไทยเชื่อเกี่ยวกับเลข ๙ ว่าเป็นเลขมงคล หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า โดยนับพระประธานด้วยเป็น ๑๐ องค์ ครบจำนวนคู่พอดี
ในการทำพิธีสวดเจริญพระพุทธมนต์ทั่วไปนั้น เจ้าภาพจะทำหน้าที่จุดธูปเทียนบูชาพระ แต่ในงานมงคลสมรส มักนิยมให้คู่บ่าวสาวเพราะถือว่าเป็นผู้ที่สำคัญที่สุดในงาน รวมไปจนถึง การถวายขันและเทียน เพื่อให้พระทำ น้ำพระพุทธมนต์ เจ้าภาพจะมอบให้คู่บ่าวสาว เป็นผู้ถวายก็ได้ น้ำพระพุทธมนต์นี้ จะนำมาเป็นน้ำสังข์ สำหรับหลั่ง ในพิธีรดน้ำต่อไป
การตักบาตรร่วมกันของคู่บ่าวสาว อาจกระทำอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น หลังจากวันแต่งงาน โดยคู่บ่าวสาว ต้องตื่นแต่เช้า นำอาหารคาวหวานไปตักรอพระ ที่ออกบิณฑบาตผ่านหน้าบ้าน เหมือนการตักบาตรของชาวบ้าน ทั่วไป แต่ในครั้งนี้ถือเป็น กรณีพิเศษ อาจกระทำติดต่อกัน ๓ วัน ๗ วันหรือ ๙ วัน เพื่อความเป็นสิริมงคล

พิธีมงคลสมรส ( งานแต่งงาน ) และบทความเกี่ยวเนื่อง
- การสู่ขอในงานแต่งงานแบบไทยๆ
- พิธีการสู่ขอขั้นตอนและพิธีการ
- พิธีการสู่ขอในวรรณคดีไทย
- พิธีการสู่ขอในวรรณคดีไทย ( ต่อ )
- การแจ้งข่าวผลการสู่ขอ
- การปลูกเรือนหอ
- พิธีหมั้น
- การยกขันหมากหมั้น
- การนับสินสอดของหมั้น
- ฤกษ์ยามเกี่ยวกับการแต่งงาน
- ฤกษ์วันแต่ง
- พิธียกขันหมาก
- การจัดขันหมากเอกและขันหมากโท
- การขุดต้นกล้วย ต้นอ้อย สำหรับให้คู่บ่าวสาว ใช้ปลูกร่วมกัน
- ขนมในขบวนขันหมาก
- ผลไม้ในขบวนขันหมาก
- การเคลื่อนขบวนขันหมาก
- การจัดขบวนขันหมาก
- ของที่อยู่ในขันหมากโท
- เริ่มเคลื่อนขบวนขันหมาก
- พานรับขันหมาก
- การปิดประตูขันหมาก
- ถอดรองเท้าเรียกค่าไถ่
- การตรวจนับขันหมาก
- การไหว้ผี
- พิธีรับไหว้
- พิธีร่วมทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว
- พิธีรดน้ำสังข์ พิธีเจิม
- ความเป็นมาของหอยสังข์ที่นำมาใช้นำพิธีการแต่งงาน
- ขั้นตอนในการทำพิธีรดน้ำี์สังข์
- การกินเลี้ยงฉลองพิธีมงคลสมรส
- พิธีปูที่นอนและส่งตัวเจ้าสาว
- การส่งตัวเจ้าสาวไทย
- การนอนเฝ้าหอในงานแต่งงานแบบไทย
- หลักการครองเรือนแบบไทย น่ารู้
- สรุปขั้นตอนที่สำคัญในพิธี งานแต่งงานแบบไทยๆ
- งานแต่งงาน คนไทย คนดัง ในปัจจุบัน
- ชุดแต่งงานและพิธีการ ในงานแต่งงานของเจ้าหญิงประเทศต่างๆ และคนดังทั่วโลก
แหล่งอ้างอิง: จากหนังสือ : ประเพณี พิธีมงคล วันสำคํญของไทย ของ คุณกิติ ธนิกุล