ขนมในขบวนขันหมาก
ขนมที่ใช้ในขบวนขันหมาก นิยมจัดเป็นคู่ ในสมัยโบราณใช้ ขนมมากมายหลายอย่าง แต่ที่สำคัญ ๆ มี ขนมกง ขนมทองเอก ขนมชะมด ขนมสามเกลอ ขนมโพรงแสม ขนมรังนก ซึ่งปัจจุบันนอก จากจะหายากแล้ว บางทีเอ่ยชื่อมา หลายคนคงไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินก็มี
ขนมยอดนิยมสำหรับการทำบุญต่าง ๆ ในปัจจุบัน ก็คือ ขนมทองหยิบ ขนมฝอยทอง ขนมเม็ดขนุน ขนมลูกชุบ ขนมชั้น ขนมหม้อแกง ขนมข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว ฯลฯ
ส่วนขนมที่ไม่นิยมใช้ในงานแต่งงาน หรือ งานมงคล ก็มี เช่น ขนมต้มแดง ต้มขาว เพราะโดยทั่วไปจะใช้ใน การทำพิธีทางไสยศาสตร์
ในหนังสือ ๑๐๐ ปีพระยาอนุมานราชธน หมวด ขนบธรรมเนียมประเพณี เล่ม ๖ ได้กล่าวถึง ขนมแต่งงาน ไว้ว่า ขนมชะมด และ ขนมสามเกลอ นั้น ถือเป็น ขนมเสี่ยงทาย ในพิธีแต่งงาน สมัยโบราณ โดยเอาขนมที่ ยังไม่ได้ทอดน้ำมัน มา ๓ ก้อน จับให้ชนติดกัน อย่างก้อน ๓ เส้า นำไป ชุบแป้ง แล้วค่อย ๆ บรรจงวางลง ในกระทะน้ำมันทอด
หากขนมยังติดกัน ทั้งสามลูก หมายถึง คู่บ่าวสาวจะอยู่กินด้วยกัน อย่างมีความสุข และมีลูกหลาน สืบสกุล หากขนมติดกัน แค่สองลูก หมายถึง อาจจะมีลูกยาก หรือไม่มีลูก แต่ยังครองรักกันครองเรือนร่วมกัน
หากขนมแยกออกจากกันหมด หมายถึง ชีวิตคู่อาจจะไม่ยืดยาว
เรื่องนี้มีการแก้เคล็ดหรือป้องกันต่าง ๆ กัน เช่น เอาไม้เสียบไว้ก่อนทำการทอดเพื่อไม่ให้หลุด หรือใช้วิธี การผสมให้แป้ง มีความเหนียวพิเศษ ฯลฯ
ขนมกง เป็นขนมที่ทำจากถั่วเขียวหรือถั่วทอง ข้าวตอก แป้งข้าวเหนียว น้ำตาลโตนด มะพร้าวห้าว น้ำมันมะพร้าว ถั่วคั่วจนสุกเหลืองแล้วเราะเปลือกออก มีวิธีทำค่อนข้างลำบาก และต้องชุบแป้งก่อนทอดน้ำมัน เสร็จแล้วยังต้องทำฝอยสำหรับหุ้มชิ้นขนมอีกด้วย
ขนมสามเกลอ ทำจากแป้งข้าวเหนียว ไส้ทำด้วยมะพร้าวห้าวขูดเป็นฝอย กวนน้ำตาล ใส่ถั่วเขียว หรือถั่วทองคั่วสุก ใช้ไม้เสียบให้ติดกัน ๓ ลูกแล้วชุบแป้งทอด มีฝอยหุ้มเช่นเดียวกับขนมกง
ขนมชะมด ทำไส้ด้วยถั่วเขียวหรือถั่วทอง นำมาแช่น้ำ ๖ ชั่วโมงแล้วนึ่งให้สุก ใส่เกลือพอเค็มกร่อย ๆ โขลกจนเหนียวปั้นเป็นก้อน ปั้นเป็นลูกไม่ต้องหุ้มแป้ง ใช้ไม้เสียบเป็นก้อนเส้าแล้วชุบแป้งทอด มีฝอยหุ้มเช่นเดียวกัน
ขนมโพรงแสม ทำจากแป้งข้าวเจ้ากับข้าวเหนียว ผสมแล้วห่อผ้าทับให้แห้งปั้นเป็นลูกกลม ต้มหรือนึ่งให้สุก อย่างขนมจีน ใส่ครกโขลกให้แป้งสุกกับดิบเข้ากัน นำไปนวดกับกะทิที่เคี่ยวจนแตกมัน เมื่อนวดได้ที่ นำไปแผ่ คลึงด้วยกระบอกไม้ไผ่บนใบตองสด นำลงทอดน้ำมันทั้งไม้กระบอก เมื่อแป้งสุกจะกลมตามรูปกระบอกและหลวมตัว เอาไม้เขี่ยกระบอกออก เหลือแต่เนื้อขนม ทอดต่อไปจนเหลือง โรยหน้าด้วยน้ำตาลเคี่ยวเป็นรูปต่าง ๆ ให้สวยงาม
เกี่ยวกับขนมต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธีแต่งงานสมัยโบราณนั้น พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวไว้ในภาคผนวก ของหนังสือเล่มเดียวกันนี้ หากต้องการรายละเอียดก็สามารถไปหาอ่านได้

พิธีมงคลสมรส( งานแต่งงาน ) และบทความเกี่ยวเนื่อง
- การสู่ขอในงานแต่งงานแบบไทยๆ
- พิธีการสู่ขอขั้นตอนและพิธีการ
- พิธีการสู่ขอในวรรณคดีไทย
- ผูกดวง ดวงสมพงศ์กัน และทางออก ในงานแต่งงาน การสู่ขอในวรรณคดีไทย ( ต่อ )
- การแจ้งข่าวผลการสู่ขอ
- การปลูกเรือนหอ
- พิธีหมั้น
- การยกขันหมากหมั้น
- การนับสินสอดของหมั้น
- ฤกษ์ยามเกี่ยวกับการแต่งงาน
- ฤกษ์วันแต่ง
- พิธียกขันหมาก
- การจัดขันหมากเอกและขันหมากโท
- การขุดต้นกล้วย ต้นอ้อย สำหรับให้คู่บ่าวสาว ใช้ปลูกร่วมกัน
- ขนมในขบวนขันหมาก
- ผลไม้ในขบวนขันหมาก
- การเคลื่อนขบวนขันหมาก
- การจัดขบวนขันหมาก
- ของที่อยู่ในขันหมากโท
- เริ่มเคลื่อนขบวนขันหมาก
- พานรับขันหมาก
- การปิดประตูขันหมาก
- ถอดรองเท้าเรียกค่าไถ่
- การตรวจนับขันหมาก
- การไหว้ผี
- พิธีรับไหว้
- พิธีร่วมทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว
- พิธีรดน้ำสังข์ พิธีเจิม
- ความเป็นมาของหอยสังข์ที่นำมาใช้นำพิธีการแต่งงาน
- ขั้นตอนในการทำพิธีรดน้ำี์สังข์
- การกินเลี้ยงฉลองพิธีมงคลสมรส
- พิธีปูที่นอนและส่งตัวเจ้าสาว
- การส่งตัวเจ้าสาวไทย
- การนอนเฝ้าหอในงานแต่งงานแบบไทย
- หน้าที่ของสามีที่มีต่อภรรยา หน้าที่ของภรรยาต่อสามี หลังแต่งงาน
- หลักการครองเรือนแบบไทย น่ารู้
- สรุปขั้นตอนที่สำคัญในพิธี งานแต่งงานแบบไทยๆ
- งานแต่งงาน คนไทย คนดัง ในปัจจุบัน
- ชุดแต่งงานและพิธีการ ในงานแต่งงานของเจ้าหญิงประเทศต่างๆ และคนดังทั่วโลก
แหล่งอ้างอิง: จากหนังสือ : ประเพณี พิธีมงคล วันสำคํญของไทย ของ คุณกิติ ธนิกุล
ชุดงานหมั้น เดรสคุณแม่เจ้าสาว แฟชั่นแบบไทยท็อป
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |