คนไทยเป็นชนชาติหนึ่งที่เชื่อถือเกี่ยวกับเรื่อง ฤกษ์ยาม เคล็ดลาง มาตั้งแต่สมัยโบราณโดยเฉพาะ การทำพิธีอันเป็นมงคลต่าง ๆ เช่น การแต่งงาน จะต้องดูฤกษ์ยามกันตั้งแต่ วันที่ส่งเฒ่าแก่ไปเจรจาสู่ขอ วันหมั้น วันทำพิธีมงคลสมรส รวมถึงฤกษ์ยามในการปลูกเรือนหอ ส่งตัวเจ้าสาวและฤกษ์เรียงหมอน ดังจะกล่าวถึงต่อไป
เกี่ยวกับฤกษ์ยามนั้น เริ่มจากวัน คือต้องเป็นวันดี เช่น วันอธิบดี วันธงชัย ส่วนเดือนที่นิยมแต่งงานกัน ได้แก่ เดือน ๖ เดือน ๙ เดือน ๑๐ เดือน ๒ และเดือน ๔ แล้วแต่ความนิยมเชื่อถืออันซึ่งมีคติที่มาหลายนัย
การนิยมแต่งในเดือน ๒ เดือน ๔ หรือเดือน ๖ เพราะถือเป็นเดือนคู่ ซึ่งคำว่าคู่หรือสิ่งที่เป็นคู่นี้ มีความหมาย และความสำคัญมาก ในการทำพิธีแต่งงาน เนื่องจากเป็นพิธีที่หญิง และชาย จะเริ่มใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน บางทีก็มี การแต่งงาน ในเดือน ๙ ถือเคล็ด ถึงความก้าวหน้า เพราะคำว่า “เก้า” กับ “ก้าว” ออกเสียงใกล้เคียงกัน
บางตำรวบอกว่าเป็นการเลื่องจากการแต่ง ในเดือน ๘ ซึ่งแม้จะเป็นเดือนคู่ แต่อยู่ในช่วงเข้าพรรษา จึงเลื่อน มาเป็ เดือน ๙ แทน คือเลี่ยงช่วงเทศกาลที่สำคัญทางศาสนา และถือเคล็ดคำว่าก้าวหน้าไปพร้อมกัน บางทีอาจมีการแต่งงานในเดือน ๘ แต่มักจะแต่งก่อนวันเข้าพรรษา
เดือนที่นิยมแต่งงานกันมากที่สุด คือเดือน ๖ เพราะเริ่มเข้าฤดูหน้าฝน อาจเพราะบรรยากาศช่วยเป็นใจ เรียวกว่า โรแมนติก กว่าแต่งในหน้าอื่น และเป็นต้นฤดูทำการเพาะปลูก ของคนไทยซึ่งหนุ่มสาวจะได้เริ่มชีวิตใหม่ สร้างฐานะครอบครัวร่วมกัน
เดือนที่ไม่นิยมแต่งงาน คือเดือน ๑๒ เพราะถือว่าเป็นช่วงที่สุนัข มันติดสัด แม้จะเป็นเดือนที่ เป็นเลขคู่ก็ไม่นิยม คงเพราะในสมัยก่อนช่วงนี้ น้ำบ่าไหลท่วมบ้านเรือน หรือข้าวปลาอาหาร ไม่สมบูรณ์ การคมนามไม่สะดวก ก็เป็นได้ แต่ในปัจจุบันความเชื่อถือ เกี่ยวกับเรื่องเดือนนั้น ไม่ค่อยเคร่งครัด เท่าใดนัก

พิธีมงคลสมรส( งานแต่งงาน ) และบทความเกี่ยวเนื่อง
- การสู่ขอในงานแต่งงานแบบไทยๆ
- พิธีการสู่ขอขั้นตอนและพิธีการ
- พิธีการสู่ขอในวรรณคดีไทย
- ผูกดวง ดวงสมพงศ์กัน และทางออก ในงานแต่งงาน การสู่ขอในวรรณคดีไทย ( ต่อ )
- การแจ้งข่าวผลการสู่ขอ
- การปลูกเรือนหอ
- พิธีหมั้น
- การยกขันหมากหมั้น
- การนับสินสอดของหมั้น
- ฤกษ์ยามเกี่ยวกับการแต่งงาน
- ฤกษ์วันแต่ง
- พิธียกขันหมาก
- การจัดขันหมากเอกและขันหมากโท
- การขุดต้นกล้วย ต้นอ้อย สำหรับให้คู่บ่าวสาว ใช้ปลูกร่วมกัน
- ขนมในขบวนขันหมาก
- ผลไม้ในขบวนขันหมาก
- การเคลื่อนขบวนขันหมาก
- การจัดขบวนขันหมาก
- ของที่อยู่ในขันหมากโท
- เริ่มเคลื่อนขบวนขันหมาก
- พานรับขันหมาก
- การปิดประตูขันหมาก
- ถอดรองเท้าเรียกค่าไถ่
- การตรวจนับขันหมาก
- การไหว้ผี
- พิธีรับไหว้
- พิธีร่วมทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว
- พิธีรดน้ำสังข์ พิธีเจิม
- ความเป็นมาของหอยสังข์ที่นำมาใช้นำพิธีการแต่งงาน
- ขั้นตอนในการทำพิธีรดน้ำี์สังข์
- การกินเลี้ยงฉลองพิธีมงคลสมรส
- พิธีปูที่นอนและส่งตัวเจ้าสาว
- การส่งตัวเจ้าสาวไทย
- การนอนเฝ้าหอในงานแต่งงานแบบไทย
- หน้าที่ของสามีที่มีต่อภรรยา หน้าที่ของภรรยาต่อสามี หลังแต่งงาน
- หลักการครองเรือนแบบไทย น่ารู้
- สรุปขั้นตอนที่สำคัญในพิธี งานแต่งงานแบบไทยๆ
- งานแต่งงาน คนไทย คนดัง ในปัจจุบัน
- ชุดแต่งงานและพิธีการ ในงานแต่งงานของเจ้าหญิงประเทศต่างๆ และคนดังทั่วโลก
แหล่งอ้างอิง: จากหนังสือ : ประเพณี พิธีมงคล วันสำคํญของไทย ของ คุณกิติ ธนิกุล